วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเขียนภาพลายไทยเบื้องต้น

การเขียนภาพลายไทยเบื้องต้น 

             ลายไทยมีการประดิษฐ์คิดค้นมากมายหลายแบบ ซึ่งในแต่ละแบบต่างก็มีความวิจิตรงดงามแตกต่างกันไป มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
 
              แม่ลายกระจัง เป็นแม่ลายพื้นฐานตัวแรกที่ใช้ฝึกปฏิบัติเขียนลายไทย แม่ลายกระจังแบ่งออกได้หลายชนิดตามลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การวาดภาพสีน้ำมัน


การวาดภาพสีน้ำมัน

   อุปกรณ์มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ
                   1. สีน้ำมัน(Oil colour)
- การวาดภาพสีน้ำมันจะใช้ยี่ห้ออะไรก็ได้ครับตามสะดวก แต่ผมจะใช้ปนๆกัน(เพราะไปซื้อแล้วไม่มี)
ผมจะแยกให้นะครับว่าตามที่ผมเคยเขียนมานั้นผมใช้แบบไหน ส่วนใครจะชอบยังไงตามถนัดเลยครับ
บางคนอาจไม่ชอบแบบผมเลยก็ได้ และที่ใช้อยู่มีสองยี่ห้อครับ
                        ROWNEY - ผมว่าจะออกลักษณะเจลจะมากไปหน่อยน่ะครับและสีก็สดใช้เขียนLandscapeนอกสถานที่ได้เหมาะทีเดียว
                        Winsor & Newton - ยี่ห้อนี้ผมจะชอบมากครับเนื้อสีแน่นละเอียดดีแบบนี้เหมาะกับ Portraitครับนอกนั้นก็ตามสะดวกเลยครับมีหลากหลายยี่ห้อแต่ผมเคยใช้แต่สองแบบนี้น่ะครับ 

                 2.น้ำยาผสม หรือ ลินซิส(Linseed)มีอีกสองแบบที่ผมใช้อยู่ครับ(อาจมีมากกว่านั้นก็ได้)แบบที่ว่านี้คือ-แบบธรรมดา ซึ่งแบบนี้ต้องคอยเป็นเวลาอย่างต่ำก็สามวันแหละครับถึงจะแห้ง(ขึ้นอยู่กับความดูดสีของผ้าใบด้วย)สำหรับลินซิสแบบนี้เหมาะสำหรับการเก็บรายละเอียดของงานแบบเปียก(สียังไม่แห้งง่ายๆ) ปัดไปถูไปเพิ่มสีไปได้-แบบแห้งเร็ว(Liquin) แบบนี้จะใช้ผสมกับแบบแรกเพื่อให้แห้งเร็วขึ้นก็ได้ หรือจะใช้เพียวๆในบางจุดหลังเก็บงานตอนหมาดๆหรือแห้งก็ได้ตามแต่ลักษณะการเก็บงานหรืองานที่เร่งๆครับ

                  3.น้ำมันสน เอาไว้ล้างพู่กันครับ

                  4.พู่กันอ่ะดิ๊ มีทั้งแบบแบนและกลมครับ เอาไว้ใช้ตามลักษณะของงาน-พู่กันแบน เอาไว้เก็บงานพื้นที่ใหญ่ และสีโดยรวมทั้งภาพ-พู่กันกลม เอาไว้เก็บรายละเอียดของงานหรือเอาไว้ปัดรอยต่อของสีให้เนียนเรียบหากัน

                  5.เกียงผสมสี (ก็เอาไว้ผสม+ขูดจานสีไง)

                  6.ขาตั้งรูป มีไว้สะดวกดีครับทั้งการปรับตำเหน่งหรือการวางของ

                  7.ตู้วางสี ถ้าไม่มีใช้อะไรก็ได้ครับแต่ถ้ามีก็สะดวกดีมีไว้สำหรับการเก็บสีและเป็นจานสีได้ด้วย(ของผมจานสีใช้กระจกครับ)

                  8.ผ้าเช็ดพู่กัน(ห้ามเอาเช็ดหน้า)

                  9.เก้าอี้ กับห้องทำงาน


   ทีนี้มาลุยกันเลยครับการวาดภาพสีน้ำมันนี่ตามเทคนิคที่ผมใช้ผมจะลงจากสีที่ลึกสุดก่อนครับ(เข้มไปอ่อน)หลายๆท่านทำไปผสมขาวไป ขอบอกว่าอย่าเพิ่งนะครับไม่งั้นสีขาวจะไปกวนสีที่เข้มๆของเรางานจะเป็นแป้งสีจะออกขุ่นๆน่ะครับสีที่ผมเก็บซ้อนไว้ก่อนคือสีขาวครับและสีที่ผมไม่เคยใช้เลยก็คือสีดำ


สาเหตุที่ไม่ใช้สีดำเพราะว่าเมื่อสีนี้ไปโดนกับสีอื่นแล้วค่ากลางของสีอื่นจะหายไปด้วยน่ะครับทำให้ค่าของสีที่ต่อกันจะไม่ซอฟลูกกะตาเท่าที่ควรผมจะใช้(Winsor)สองสีนี้คู่กันครับคือสีม่วงเบอร์28(Magenta)กับสีเขียวเบอร์37(Sap Green)ลงเก็บไปเรื่อยๆครับกับทุกที่ที่เราคิดว่าเป็นส่วนที่เข้มจนหมดทั้งภาพถ้าพื้นที่ที่เราต้องการเข้มกว่านี้(เก็บตอนหลัง)ก็ใช้น้ำเงินเบอร์ 15(Cobalt Blue)หรือ เบอร์ 21(French Uttramarine)ผสมเติมเข้าไป


จากนั้นก็เริ่มสีน้ำหนักที่สองหรือระยะที่สองครับใช้สีตามระยะก่อนนะครับ (หน้า กลาง หลัง)พยายามเบรคสีให้อยู่โทนเดียวกันทั้งภาพก่อนที่จะควักสีขาวออกมาผสมสีในจานสีพร้อมกับการเบรคสีไปในตัวลงไปเรื่อยๆครับจนเต็มภาพ อย่าให้เป็นก้อนสีหรือเห็นรอยผ้าใบนะครับเพราะถ้าสีแห้งแล้วจะตามมาเก็บสีแบบเดิมค่อนข้างลำบากเมื่อลงพื้นเสร็จเรียบร้อยก็รอครับ เก็บโน้นนิดนี่หน่อยไปเรื่อยๆอย่าใจร้อนนะครับ ที่เรากำลังทำอยู่นี้เป็นการวาดภาพสีน้ำมันแบบเขียนเปียกน่ะครับ(ไม่รู้ว่าศัพท์วิชาการเขาเรียกว่าอะไร)


รออีกวันต่อมาเราต้องมาคอยดูสีครับว่ามันหนึบๆหรือว่ายังไม่มีทีท่าจะแห้งหรือแห้งเรียบร้อยไปแล้วตอนนี้ก็เรียกว่าเก็บงานตอนหมาดๆล่ะครับคือสีต้องหมาดๆไม่เปียกหรือแห้งสนิทเราค่อยๆเพิ่มเติมเข้าไปครับสีบางส่วนที่จมอยู่สามารถคัดสี*ขึ้นมาได้เลย(*คัดสี คือ การลงสีเดิมเก็บทับเพื่อเน้นบางส่วนให้เด่นขึ้น)ถึงตอนนี้ก็เริ่มใช้พู่กันกลมแล้วล่ะครับ แบนๆกลมสลับกันไปตามความถนัดและจังหวะของสี


เก็บรายละเอียดไปเรื่อยๆครับกับจังหวะสีที่หนึบๆเพราะการวาดภาพสีน้ำมันกับสีที่หนึบหนับจะทำให้สีที่เราเพิ่มไปนั้นยังซอฟเป็นส่วนหนึ่งของงานอยู่ครับเก็บไปเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นท้องฟ้า น้ำหรือเขา ทีละนิดทีละหน่อย ทีละส่วนค่อยๆไปครับค่อยค่อยไป


อีกวันต่อมาหรือสองวันหลังจากที่เราเก็บไปเรื่อยๆเล็งแล้วเล็งอีกเล็งอีกก้เล็งแล้วจะตีลังกาเล็งจนตาเอียง ตัว หัว เอียงไปตามๆกันก็มาถึงตอนเก็บแห้งซะทีครับการวาดภาพสีน้ำมันแบบเก็บแห้งคือการคัดเพิ่มสีให้เด่นขึ้นมาครับจะเป็นการเก็บรายละเอียดของภาพเล็กๆน้อยๆจากพื้นที่ใหญ่ๆที่เราลงไปหมดทั้งเฟรมแล้ว คุมโทนสีได้แล้วเราก็ค่อยๆเก็บไปเรื่อยๆครับ

จากนั้นก็รออีกรอบรอจนเมื่อทุกอย่างแห้ว เอ๊ย!แห้งสนิทก็ทำการเคลือบ Picture Varnish Glossyต้องเคลือบงานกันหน่อยครับเพราะว่าไม่งั้นสีที่เราลงภาพไปนั้น จะมันหรือด้านไม่เท่ากันทั้งภาพครับสาเหตุเพราะการที่เราทับสีหรือการเก็บหมาดเก็บแห้งนั่นเอง



จนสุดท้ายเราก็จะได้งานศิลปะภาพสีน้ำมันที่เสร็จสมบูรณ์เอาไว้นั่งดู นอนดู ยืนเรียกเพื่อนๆมาดูกันได้ตามอัธยาศัยเลยครับหวังว่าพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ คงสนุกกับการวาดภาพสีน้ำมันนะครับค่อยๆฝึกไปครับ อย่าใจร้อน ใจเย็นๆครับขอให้ทุกคนมีความสุขกับการทำสิ่งที่ตนรักนะครับ



วิดีโอสอนวาดภาพสีน้ำมัน


วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการวาดภาพสีอะคลีลิค


                            อาจจะไม่ตรงตามหลักและวิธีการเขียนภาพสักเท่าไหร่นะคะ 

                                      แต่รับรองว่าวิธีนี้ง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่ค่ะ 


          อุปกรณ์    

                 1. ผ้าใบสำหรับเขียนรูป ซื้อที่ร้านเครื่องเขียน มีขนาดต่างๆ ให้เลือก ที่ใช้ในวันนี้ 

ขนาด 30 X 24Cm. ราคา 40 บาทค่ะ  

                 2. สีอะคลีลิค วันนี้ใช้ของ Winsor & Newton  

                 3. พู่กัน, จานสี   


                 1. ร่างภาพที่เราต้องการวาด สำหรับมือใหม่แนะนำให้ร่างภาพให้ละเอียด  เพราะจะมีผล

ตอนลงสี ถ้าไม่ละเอียด หรือร่างภาพเบาไปเวลาลงสีภาพที่ร่างไว้จะหายไปในพริบตา 

 


                  2.ลงสีเพื่อคลุมโทนภาพ ให้ดูภาพต้นแบบว่าโทนภาพสีอะไร แล้วลงสีตามนั้น ขั้นตอนนี้

ให้ละลายสีอะคลีลิคให้จางๆ หน่อย เพราะถ้าลงสีเข้ม ภาพที่ร่างไว้จะหายไป ด้วยคุณสมบัติหลักของ

สีอะคลีลิคคือเป็นสีทึบแสง... เมือเรียบร้อยแล้วก็เกลี่ยสีให้เสมอ...วิธีนี้ช่วยทำให้ภาพที่ออกมาดู  

ซอฟ และเป็นธรรมชาติ 

 


                 3.เมื่อลงสีพื้นเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเริ่มลงสีในส่วนของรายละเอียดของภาพในส่วนต่างๆ 

เช่นใบไม้สีเขียว นกสีน้ำตาล ลงสีแค่ให้รู้ว่าตรงไหนสีอะไร แล้วค่อยมาเก็บมิติ ความลึกตื้นของภาพ

ภายหลัง จะทำให้สีสม่ำเสมอ ไม่มากไปหรือน้อยไป  




                   4.เมื่อเราลงสีในส่วยต่างๆ ของภาพเรียบร้อย ก็เริ่มเก็บรายละเอียดในส่วนรายละเอียด

ของภาพ เมื่อเรียบร้อยก็เริ่มลงสีในส่วนของบรรยากาศ  




                        5. หลายคนมักลงสีในส่วนของบรรยากาศก่อน อันนั้นก็ไม่ผิด แต่การวาดภาพ

บรรยากาศภายหลังวาดภาพหลักมักทำให้ภาพดูสมจริงมากขึ้น เพราะตามความเป็นจริงแล้ว บรรยากาศ

ครอบคลุมสรรพสิ่ง



                     6.เกลี่ยสีของบรรยากาศในส่วนต่างๆ ไล่สีให้กลมกลืนกับสีในส่วนสว่าง ซึ่งเป็นสีที่เรา

ระบายคลุมโทนเอาไว้ในตอนแรก จะเห็นได้ว่า ถ้าเราไม่ระบายสีเขียวคลุมโทนไว้แต่ต้น ขั้นตอนนี้จะ

ทำได้ยากมากมาก อาจต้องใช้เวลา และสีก็มักจะดูไม่เป็นะธรรมชาติ 

 




                     7.เมื่อลงสีของบรรยากาศเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเก็บรายละเอียดของภาพอีกครั้ง

เพื่อคัดให้ภาพโดดเด่นขึ้น เช่นในส่วนของดอกไม้ ใบไม้ ขนนก ภาพของหยาดน้ำค้างที่ต้องแสง

อาทิตย์ตรงด้านบน ซึ่งขั้นตอนพวกนี้เรามักทำภายหลัง เพราะต้องการความสดของสี เพื่อเน้นให้

เกิดความ

โดดเด่น สวยงาม

 



          









     

    8. เรียบร้อยแล้วก็จะได้ภาพนี้ค่ะ วิธีการนี้ใช้กับการวาดภาพอื่น ๆ ได้ดี และทำให้

ภาพหลักไม่หลุดออกจากภาพบรรยากาศ เน้นให้เกิดความกลมกลืนสมจริงค่ะ...ว่างๆ ลองวาดดูนะคะ

ภาพวาด    http://sipang-artgallery.com

ขอบคุณที่มาจาก  :http://www.oknation.net/blog/plas/2011/11/07/entry-1

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

การวาดภาพด้วยเกรยอง

สำหรับวันนี้อยากแนะนำ  วิธีการวาดภาพด้วยเกรยอง  ลองมาดูกันนะคะว่าเป็นอย่างไร

เทคนิคการสร้างสรรค์ด้วยเกรยอง


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการระบายสีโปสเตอร์


เทคนิคการระบายสีโปสเตอร์ (Poster Color)









 
         สีโปสเตอร์(Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด 
มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป  เรียกว่า
 "สีแป้ง" 

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

การวาดหุ่นนิ่ง

         ต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว  ที่แนะนำการวาดเส้น  วันนี้เลยอยากขอแนะนำการวาดเส้นหุ่นนิ่ง  เพื่อนำไปพัฒนาฝีมือในการวาดเส้นกัน  ไปดูกันเลยว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง


การวาดเส้นหุ่นนิ่ง

111.JPG        การวาดภาพหุ่นนิ่งนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานของการเริ่มวาดภาพ Drawing อย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นการเริ่มฝึกขบวนการทั้งหมดที่จะพัฒนาไปสู่การวาดภาพประเภทอื่น ผลงานการฝึกวาดเส้นชิ้นแรก  ๆ ของชีวิตนักศึกษาศิลปะแทนทุกคนนั้นก็น่าจะเป็นภาพหุ่นนิ่ง  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม  แทบทั้งสิ้น


วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556


สำหรับวันนี้  เป็นสิ่งแรกในการสร้างงานศิลปะ  คือการ  Drawing

การวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ
สิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราที่เป็นผลมาจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ส่วนหนึ่ง ได้แก่ ถ้วยกาแฟ บ้านเรือน รถยนต์ เรือ โต๊ะ ดินสอ ยางลบ ฯลฯ และ อีกส่วนหนึ่งที่มีอยู่แล้ว คือ สภาพของธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ ภูเขา นก ปลา ทะเล สายลม แสงแดด ดอกไม้ ไส้เดือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีความผูกพันกับชีวิตคนเราตลอดมาจนเป็นปกติในการอยู่ร่วมกันตามวิถีทางหรืวิถีชีวิตนั้น ๆ ในการทำงานบางสาขา อาจจะต้องนำรูปร่างของลักษณะของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้ กลับมาเป็นสื่อในลักษณะของรูปร่าง ให้เห็นกันเป็นภาพนิ่ง เพื่อการสร้างสรรค์ทางด้านธุรกิจ ด้านวิชาการความรู้ หรือความเพลิดเพลิน การวาดเส้นสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ทักษะฝีมือ การสังเกต การเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์งานทางด้านต่าง ๆ ด้วย