วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ



            สำหรับวันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า  "องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ"  มีอะไรบ้าง


องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ

          องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ เป็นแนวคิด หรือจุดกำเนิดแรกที่ศิลปินใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์ ก่อนที่จะมีการสร้างผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เนื้อหากับเรื่องราว

           1.เนื้อหาในทางศิลปะ   คือ ความคิดที่เป็นนามธรรมที่แสดงให้เห็นได้โดยผ่านกระบวนการทางศิลปะ เช่น  ศิลปินต้องการเขียนภาพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชนบท ก็จะแสดงออกโดยการเขียนภาพทิวทัศน์ของชนบทหรือภาพวิถีชิวิตของคนในชนบทเป็นต้น
          2.เรื่องราวในทางศิลปะ    คือส่วนที่แสดงความคิดทั้งหมดของศิลปินออกมาเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการทางศิลปะ  เช่น  ศิลปินเขียนภาพชื่อชาวเขา ก็มักแสดงรูปเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรือกิจกรรมส่วนหนึ่งของชาวเขา นั่นคือเรื่องราวที่ปรากฏออกมาให้เห็น

          ประเภทของความสัมพันธ์ของเนื้อหากับเรื่องราวในงานทัศนศิลป์นั้น เนื้อหากับเรื่องราวจะมีความสัมพันธ์กันน้อยหรือมาก หรืออาจไม่สัมพันธ์กันเลย หรืออาจไม่มีเรื่องเลยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น โดยขึ้นกับลักษณะของงาน และเจตนาในการแสดงออกของศิลปิน ซึ่งเราสามารถแยกได้ดังต่อไปนี้คือ

(1) การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง
(2) เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานกันของศิลปินกับเรื่อง
(3) เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง
(4) เนื้อหาไม่มีเรื่อง 
             
          1. การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง ได้แก่ การใช้เรื่องที่ตรงกับเนื้อหา และเป็นตัวแสดงเนื้อหาของงานโดยตรง  
ตัวอย่างเช่น เมื่อศิลปินต้องการให้ความงามทางด้านดอกไม้เป็นเนื้อหาของงาน เขาก็จะหาดอกไม้ที่สวยงามมาเป็นเรื่องสีสันและความอ่อนช้อยของกลีบดอกจะช่วยให้เกิดความงามขึ้นในภาพ 

          2.  เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานระหว่างศิลปินกับเรื่อง  ในส่วนนี้ศิลปินจะเสนอความเห็นส่วนตัว หรือผสมความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในเรื่อง เป็นการผสมกันระหว่างรูปลักษณะของเรื่องกับจินตนาการของศิลปิน เช่นเรื่องความงามของดอกไม้ โดยศิลปินผสมความรู้สึกนึกคิดของตนเองลงไปในเรื่องด้วย เขาจะดัดแปลง เพิ่มเติมรูปร่างของดอกไม้ให้งามไปตามทัศนะของเขาและใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นองค์ประกอบทางรูปทรงให้สอดคล้องกับความงามของเรื่อง 
           
          3.  เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง   เมื่อศิลปินผสมจินตนาการของตนเองเข้าไปในงานมากขึ้น ความสำคัญของเรื่อง
จะลดลง ดอกไม้ที่สวยที่เป็นแบบอาจถูกศิลปินตัดทอนขัดเกลา หรือเปลี่ยนแปลงมากที่สุด จนเรื่องดอกไม้นั้นหมดความสำคัญไปอย่างสิ้นเชิง เหลือแต่เนื้อหาที่เป็นอิสระ การทำงานแบบนี้ศิลปินอาศัยเพียงเรื่อง เป็นจุดเริ่มต้นแล้วเดินทางห่างออกจากเรื่องจนหายลับไป เหลือแต่รูปทรงและตัวศิลปินเองที่เป็นเนื้อหาของงาน กรณีนี้เนื้อหาภายในซึ่ง  หมายถึงเนื้อหาที่ที่เกิดขึ้นจากการประสานกันของรูปทรงจะมีบทบาทมากกว่าเนื้อหาภายนอก หรือบางครั้งจะไม่แสดงเนื้อหาภายนอกออกมาเลย 
             
          4. เนื้อหาไม่มีเรื่อง ศิลปินบางประเภท ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เรื่องเป็นจุดเริ่มต้น งานของเขาไม่มีเรื่อง มีแต่รูปทรง
กับเนื้อหา โดยรูปทรงเป็นเนื้อหาเสียเองโดยตรง เป็นเนื้อหาภายในล้วนๆ เป็นการแสดงความคิด อารมณ์ และบุคลิกภาพของศิลปินแท้ๆ ลงไปในรูปทรงที่บริสุทธิ์ งานประเภทนี้จะเห็นได้ชัดในดนตรีและงานทัศนศิลป์ที่เป็นนามธรรมและแบบนอนออบเจคตีฟ 
              
      
   องค์ประกอบพื้นฐานด้านรูปธรรมของศิลปะองค์ประกอบพื้นฐานด้านรูปธรรมของศิลปะ คือสิ่งที่แสดงแนวดิดเกี่ยวกับเนื้อหาและเรื่องราวของศิลปินให้เห็นหรือรับรู้ผ่านผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เอกภาพ ดุลยภาพ และจุดเด่น
  
              1.   เอกภาพหมายถึงการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้แต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน
 ประสานกลมกลืนเกิดเป็นผลรวมที่แบ่งแยกไม่ได้ โดยถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะด้วยกระบวนการศิลปะ

              2.   ดุลยภาพ คือการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้เกิดความเท่ากันหรือสมดุล โดยมีเส้นแกนสมมุติ 2 เส้นเป็นตัวกำหนดดุลยภาพเส้นแกนสมมุติจะทำหน้าที่แบ่งภาพออกเป็นด้านซ้านและด้านขวา หรือด้านบนและด้านล่าง  เพื่อให้ผลงานศิลปะที่ปรากฏเกิดความสมดุลในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่นแบบซ้ายขวาเหมือนกันและแบบซ้าย ขวา ไม่เหมือนกัน

             3.   จุดเด่น คือ ส่วนที่สำคัญในภาพ มีความชัดเจนสะดุดตาเป็นแห่งแรก รับรู้ได้ด้วยการมองผลงานที่สำเร็จแล้ว  จุดเด่นจะมีลักษณะการมีอำนาจ ตระหง่าน ชัดเจนกว่าส่วนอื่นทั้งหมด โดยเกิดจากการเน้นให้เด่นในลักษณะใดลักษณะนึ่ง  เช่น จุดเด่นที่มีความเด่นชัด หรือจุดเด่นที่แยกตัวออกไปให้เด่น

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์

           จากคราวที่แล้วได้รู้ถึงความหมายขององค์ประกอบศิลป์ไปแล้ว  คราวที่เรามาทราบถึงความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์กันดีกว่า  ว่าองค์ประกอบศิลป์มีความสำคัญอย่างไร  สำหรับงานศิลปะ





ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์   
                      ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสาขาต่างๆไม่ว่าจะเป็นสาขาวิจิตรศิลป์หรือประยุกต์ศิลป์ ผู้สร้างสรรค์นั้นต้องมีความรู้เบื้องต้นด้านศิลปะมาก่อน และศึกษาถึงหลักการองค์ประกอบพื้นฐาน
องค์ประกอบที่สำคัญ การจัดวางองค์ประกอบเหล่านั้น รวมถึงการกำหนดสี ในลักษณะต่างๆเพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจ  เพื่อเวลาที่สร้างผลงานศิลปะ จะได้ผลงานที่มีคุณค่า ความหมายและความงามเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้พบเห็น  หากสร้างสรรค์ผลงานโดยขาดองค์ประกอบศิลป์ ผลงานนั้นอาจดูด้อยค่า หมดความหมายหรือไม่น่าสนใจไปเลย  

องค์ประกอบศิลป์


                  เราก็ได้รู้จักประวัติศาสตร์ศิลปะไปพอสมควรแล้ว  ทั้งประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สากล  ต่อจากนี้จะให้ท่านผู้อ่านได้มารู้จักกับ  คำว่า  "องค์ประกอบศิลป์"




ความหมายขององค์ประกอบศิลป์      

           มนุษย์เรารับรู้ถึงความสวยความงาม ความพอใจ ของสิ่งต่างๆได้แตกต่างกับ ระดับความพอใจของแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันออกไปทั้งนี้อาจขึ้นกับรสนิยม สภาพสังคม ศาสนา ความเชื่อและสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับรู้นั้นดำรงชีวิตอยู่  หากแต่ว่าผู้รับรู้นั้นได้เข้าใจถึงกระบวนการ องค์ประกอบและพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งที่ได้สัมผัส ก็ย่อมทำให้รับรู้ถึงความงาม ความพอใจนั้นๆเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง    

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ศิลปะสากล

                  จากคราวที่แล้วเป็นเรื่องของศิลปะไทย  คราวนี้เรามารู้จักกับศิลปะสากล  กันต่อเลยดีกว่าค่ะ

ประวัติศาสตร์ศิลปะสากล

                 ศิลปะสมัยกลาง         

          ศาสนาคริสต์มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างงานศิลปะสมัยกลาง กล่าวคือ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุดลงในช่วงศตวรรษที่ ๕ – ๑๑ ยุโรปก็เข้าสู่ยุคมืด วิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นไม่มีความสงบสุขและความมั่งคั่ง เกิดสงครามระหว่างแคว้นต่างๆ รวมถึงการเกิดโรคระบาดและทุพภิกขภัยอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้คนยึดมั่นและศรัทธาในคริสต์ศาสนา

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

     จากคราวที่แล้วรู้จักประวัติศาตร์โดยรวมของศิลปะไปแล้ว  คราวนี้เรามารู้จักกับประวัติศาสตร์ศิลปะไทยกันบ้างดีกว่าค่ะ

ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
             ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
     1.จิตรกรรมไทย
2.ประติมากรรมไทย
3.สถาปัตยกรรมไทย
 
จิตรกรรมไทย   Thai Painting
    จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทยที่แตกต่าง
จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน   ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลงคลี่คลายตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจ  และมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต
     ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคารสิ่งของเครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ   ฯลฯ  เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจากธรรมชาติมาประกอบ  เช่น  ลายกนก  ลายกระจัง  ลายประจำยาม  ลายเครือเถา เป็นต้นหรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ศิลปะ


         สำหรับวันนี้  เรามารู้จักกับประวัติศาสตร์ศิลปะกันก่อนนะคะ  ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง

ก่อนจะมาเรียนรู้กับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะกัน

ประวัติศาสตร์ศิลปะ

อารยธรรมของมนุษย์ดำเนินมาอย่างยาวนาน มีวิวัฒนาการมาเรื่อย เราอาจจะศึกษาประวัติศาสตร์ได้จากบันทึกทางตัวอักษร แต่ไม่เสมอไป บางยุคบางสมัย ไม่พบหลักฐานในการใช้ตัวหนังสือ บางยุคก็เป็นอักษรโบราณที่คนปัจจุบันอ่านไม่ออกแล้ว ดังนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์จึงทำได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ ศึกษาจากหลักฐานทางด้านศิลปกรรม เพราะงานศิลปะ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์โดยแท้จริง มนุษย์นำศิลปะมาใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต ความเชื่อทางศาสนา และการตกแต่งประดับประดาเพื่อความสวยงาม หรือแม้กระทั่งความรื่นรมย์

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการวาดสีน้ำ



เทคนิคการวาดสีน้ำ

          วันนี้จะมาแนะนำการวาดภาพสีน้ำ   บรรยากาศริมทะเล  ที่คิดว่าทุกคนน่าจะทำตามกันได้  ง่ายๆ  ถ้าพร้อมกันแล้ว  ไปเตรียมอุปกรณ์  สีน้ำ  พู่กัน  แล้วมาลงมือปลดปล่อยอารมณ์ศิลปะกันเลยดีกว่า




        สีน้ำ"ทะเล"
         สีน้ำภาพนี้อธิบายการลงสีน้ำทะเลเเละบริบทรอบข้าง ฝึกเพื่อให้เกิดความเคยชินกับเทคนิคต่างๆ แต่ไม่ใช่ฝึกแค่  ภาพนี้เท่านั้นนะคะ นั่นแค่ตัวอย่าง หาแบบฝึกหัดมาทำเองเพิ่มเติมเยอะๆ ทำให้สมำเสมอ ถ้าทิ้งช่วงไป ก็เหมือนกับมาเริ่มใหม่


เทคนิคการวาดสีำน้ำ