วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการวาดภาพสีอะคลีลิค


                            อาจจะไม่ตรงตามหลักและวิธีการเขียนภาพสักเท่าไหร่นะคะ 

                                      แต่รับรองว่าวิธีนี้ง่าย เหมาะสำหรับมือใหม่ค่ะ 


          อุปกรณ์    

                 1. ผ้าใบสำหรับเขียนรูป ซื้อที่ร้านเครื่องเขียน มีขนาดต่างๆ ให้เลือก ที่ใช้ในวันนี้ 

ขนาด 30 X 24Cm. ราคา 40 บาทค่ะ  

                 2. สีอะคลีลิค วันนี้ใช้ของ Winsor & Newton  

                 3. พู่กัน, จานสี   


                 1. ร่างภาพที่เราต้องการวาด สำหรับมือใหม่แนะนำให้ร่างภาพให้ละเอียด  เพราะจะมีผล

ตอนลงสี ถ้าไม่ละเอียด หรือร่างภาพเบาไปเวลาลงสีภาพที่ร่างไว้จะหายไปในพริบตา 

 


                  2.ลงสีเพื่อคลุมโทนภาพ ให้ดูภาพต้นแบบว่าโทนภาพสีอะไร แล้วลงสีตามนั้น ขั้นตอนนี้

ให้ละลายสีอะคลีลิคให้จางๆ หน่อย เพราะถ้าลงสีเข้ม ภาพที่ร่างไว้จะหายไป ด้วยคุณสมบัติหลักของ

สีอะคลีลิคคือเป็นสีทึบแสง... เมือเรียบร้อยแล้วก็เกลี่ยสีให้เสมอ...วิธีนี้ช่วยทำให้ภาพที่ออกมาดู  

ซอฟ และเป็นธรรมชาติ 

 


                 3.เมื่อลงสีพื้นเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเริ่มลงสีในส่วนของรายละเอียดของภาพในส่วนต่างๆ 

เช่นใบไม้สีเขียว นกสีน้ำตาล ลงสีแค่ให้รู้ว่าตรงไหนสีอะไร แล้วค่อยมาเก็บมิติ ความลึกตื้นของภาพ

ภายหลัง จะทำให้สีสม่ำเสมอ ไม่มากไปหรือน้อยไป  




                   4.เมื่อเราลงสีในส่วยต่างๆ ของภาพเรียบร้อย ก็เริ่มเก็บรายละเอียดในส่วนรายละเอียด

ของภาพ เมื่อเรียบร้อยก็เริ่มลงสีในส่วนของบรรยากาศ  




                        5. หลายคนมักลงสีในส่วนของบรรยากาศก่อน อันนั้นก็ไม่ผิด แต่การวาดภาพ

บรรยากาศภายหลังวาดภาพหลักมักทำให้ภาพดูสมจริงมากขึ้น เพราะตามความเป็นจริงแล้ว บรรยากาศ

ครอบคลุมสรรพสิ่ง



                     6.เกลี่ยสีของบรรยากาศในส่วนต่างๆ ไล่สีให้กลมกลืนกับสีในส่วนสว่าง ซึ่งเป็นสีที่เรา

ระบายคลุมโทนเอาไว้ในตอนแรก จะเห็นได้ว่า ถ้าเราไม่ระบายสีเขียวคลุมโทนไว้แต่ต้น ขั้นตอนนี้จะ

ทำได้ยากมากมาก อาจต้องใช้เวลา และสีก็มักจะดูไม่เป็นะธรรมชาติ 

 




                     7.เมื่อลงสีของบรรยากาศเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเก็บรายละเอียดของภาพอีกครั้ง

เพื่อคัดให้ภาพโดดเด่นขึ้น เช่นในส่วนของดอกไม้ ใบไม้ ขนนก ภาพของหยาดน้ำค้างที่ต้องแสง

อาทิตย์ตรงด้านบน ซึ่งขั้นตอนพวกนี้เรามักทำภายหลัง เพราะต้องการความสดของสี เพื่อเน้นให้

เกิดความ

โดดเด่น สวยงาม

 



          









     

    8. เรียบร้อยแล้วก็จะได้ภาพนี้ค่ะ วิธีการนี้ใช้กับการวาดภาพอื่น ๆ ได้ดี และทำให้

ภาพหลักไม่หลุดออกจากภาพบรรยากาศ เน้นให้เกิดความกลมกลืนสมจริงค่ะ...ว่างๆ ลองวาดดูนะคะ

ภาพวาด    http://sipang-artgallery.com

ขอบคุณที่มาจาก  :http://www.oknation.net/blog/plas/2011/11/07/entry-1

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

การวาดภาพด้วยเกรยอง

สำหรับวันนี้อยากแนะนำ  วิธีการวาดภาพด้วยเกรยอง  ลองมาดูกันนะคะว่าเป็นอย่างไร

เทคนิคการสร้างสรรค์ด้วยเกรยอง


วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการระบายสีโปสเตอร์


เทคนิคการระบายสีโปสเตอร์ (Poster Color)









 
         สีโปสเตอร์(Poster Color) เป็นสีน้ำชนิดหนึ่งเนื่องจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นิยมบรรจุขวด 
มีเนื้อสีข้นค่อนข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทึบแสง เพราะเติมแป้งหรือเนื้อสีขาวลงไป  เรียกว่า
 "สีแป้ง" 

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

การวาดหุ่นนิ่ง

         ต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว  ที่แนะนำการวาดเส้น  วันนี้เลยอยากขอแนะนำการวาดเส้นหุ่นนิ่ง  เพื่อนำไปพัฒนาฝีมือในการวาดเส้นกัน  ไปดูกันเลยว่ามีวิธีการอย่างไรบ้าง


การวาดเส้นหุ่นนิ่ง

111.JPG        การวาดภาพหุ่นนิ่งนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานของการเริ่มวาดภาพ Drawing อย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นการเริ่มฝึกขบวนการทั้งหมดที่จะพัฒนาไปสู่การวาดภาพประเภทอื่น ผลงานการฝึกวาดเส้นชิ้นแรก  ๆ ของชีวิตนักศึกษาศิลปะแทนทุกคนนั้นก็น่าจะเป็นภาพหุ่นนิ่ง  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม  แทบทั้งสิ้น


วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556


สำหรับวันนี้  เป็นสิ่งแรกในการสร้างงานศิลปะ  คือการ  Drawing

การวาดเส้นภาพเหมือนจริงจากธรรมชาติ
สิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราที่เป็นผลมาจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ส่วนหนึ่ง ได้แก่ ถ้วยกาแฟ บ้านเรือน รถยนต์ เรือ โต๊ะ ดินสอ ยางลบ ฯลฯ และ อีกส่วนหนึ่งที่มีอยู่แล้ว คือ สภาพของธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ ภูเขา นก ปลา ทะเล สายลม แสงแดด ดอกไม้ ไส้เดือน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มีความผูกพันกับชีวิตคนเราตลอดมาจนเป็นปกติในการอยู่ร่วมกันตามวิถีทางหรืวิถีชีวิตนั้น ๆ ในการทำงานบางสาขา อาจจะต้องนำรูปร่างของลักษณะของสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เหล่านี้ กลับมาเป็นสื่อในลักษณะของรูปร่าง ให้เห็นกันเป็นภาพนิ่ง เพื่อการสร้างสรรค์ทางด้านธุรกิจ ด้านวิชาการความรู้ หรือความเพลิดเพลิน การวาดเส้นสิ่งต่าง ๆ โดยใช้ทักษะฝีมือ การสังเกต การเข้ามามีส่วนร่วมสร้างสรรค์งานทางด้านต่าง ๆ ด้วย