วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเขียนภาพลายไทยเบื้องต้น

การเขียนภาพลายไทยเบื้องต้น 

             ลายไทยมีการประดิษฐ์คิดค้นมากมายหลายแบบ ซึ่งในแต่ละแบบต่างก็มีความวิจิตรงดงามแตกต่างกันไป มีลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
 
              แม่ลายกระจัง เป็นแม่ลายพื้นฐานตัวแรกที่ใช้ฝึกปฏิบัติเขียนลายไทย แม่ลายกระจังแบ่งออกได้หลายชนิดตามลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

 
              กระจังฟันปลา ได้รับแรงบันดาลใจมาจากฟันของปลา อยู่ในรูปทรงสามเหลี่ยม เป็นลายที่มีลักษณะต่อเนื่องกันเรียงกันไปทั้งซ้ายและขวา
 
08_resize
แสดงลักษณะการเขียนลายกระจังฟันปลา
 
            กระจังตาอ้อย มีชื่อเรื่องอย่างว่า "บัว" กระจังตาอ้อยได้รับแรงบันดาลใจมาจากตาของอ้อยและกลีบของดอกบัว รูปทรงอยู่ในรูปสามเหลี่ยม เขียนเป็นเส้นโค้ง มีความอ่อนช้อย เป็นลายติดต่อซ้ายและขวา นิยมใช้ประดับสิ่งของเครื่องใช้บางอย่าง เช่น ชั้นของธรรมาสน์ ฐานพระพุทธรูป เป็นต้น
 
09_resize
แสดงลักษณะการเขียนลายกระจังตาอ้อย
 
             กระจังใบเทศ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากใบฝ้ายเทศ มีรูปทรงภายนอกเช่นเดียวกับกระจังตาอ้อย สอดไส้ภายในตัวลาย นิยมใช้ระดับตามขอบลายหน้ากระดาน
 
10_resize
แสดงลักษณะการเขียนลายกระจังใบเทศ
 
            กระจังรวนหรือกระจังหู เป็นกระจังที่มีรูปทรงเป็นพุ่มสามเหลี่ยม นิยมใช้เป็นลายประดับตามชอบต่าง ๆ เช่น ขอบประตู หน้าต่าง วิหาร
 
11_resize
แสดงลักษณะการเขียนลายกระจังรวน
 
           แม่ลายประจำยาม ต้นกำเนิดอาจได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติของดอกไม้เป็นลายดอกสามเหลี่ยมนิยมใช้เป็นลายตกแต่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ขอบประตู หน้าต่าง
 
12_2_resize12_3_resize12_4_resize12_1_resize
แสดงลักษณะการเขียนประจำยาม
 
         แม่ลายกนก ได้แรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติของเปลวไฟ ดอกไม้ ใบไม้ เป็นต้น ลายกนกมีความหมายว่าลายทอง เป็นแม่ลายของลายไทยที่สำคัญแบบหนึ่งที่ประดิษฐ์เป็นตัวลายรวมกันสามส่วน คือ ตัวเหงา ตัวประกบ ตัวเปลว เมื่อมารวมกันเรียกกว่า "ลายกนกสามตัว" นอกจากนี้ลายกนกยังสามารถเขียนและมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปอีก เช่น กนกเปลว กนกใบเทศ กนกหางโต
 
99
ลักษณะการเขียนกนกสามตัว

999
ลักษณะการเขียนกนกเปลว



วิดิโอสอนเขียนลายไทย


ไม่มีความคิดเห็น: