วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ศิลปะสากล

                  จากคราวที่แล้วเป็นเรื่องของศิลปะไทย  คราวนี้เรามารู้จักกับศิลปะสากล  กันต่อเลยดีกว่าค่ะ

ประวัติศาสตร์ศิลปะสากล

                 ศิลปะสมัยกลาง         

          ศาสนาคริสต์มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างงานศิลปะสมัยกลาง กล่าวคือ เมื่อจักรวรรดิโรมันสิ้นสุดลงในช่วงศตวรรษที่ ๕ – ๑๑ ยุโรปก็เข้าสู่ยุคมืด วิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้นไม่มีความสงบสุขและความมั่งคั่ง เกิดสงครามระหว่างแคว้นต่างๆ รวมถึงการเกิดโรคระบาดและทุพภิกขภัยอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้คนยึดมั่นและศรัทธาในคริสต์ศาสนา
                    ๑. ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ.๖๔๐-๑๐๔๐)และศิลปะไบเซนไทน์ Bizentine (พ.ศ.๑๐๔๐-๑๙๙๖)ศิลปะคริสเตียนในยุคแรกรับอิทธิพลมาจากศิลปะโรมัน  อาคารในสมัยแรก จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ถูกฆ่าเรื่องศาสนา  วิหารพิธีเจิมน้ำมนต์  ผนังภายนอก อาคารจะถูกปล่อยไว้เรียบ ๆ ทื่อ ๆ  ผนังภายในอาคารจะประดับด้วยเศษหินสี แวววาว ส่วนต่างๆของอาคาร เช่น  เสารายแบบโรมัน เสาก่ออิฐ หลังคาทรงโค้ง แผนผังอาคารมี ๒ แบบ คือ แบบชนิดตามยาว  และแบบชนิดศูนย์กลาง  ซึ่งมีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมัน     อาคารที่มีแนวยาวเหมาะสำหรับขบวนพิธีการ ที่สง่างาม อาคารชนิดมีศูนย์กลาง    สำหรับเป็นสถูปสถานของนักบุญคนสำคัญ แต่ต่อมานิยมสร้างโบสถ์แบบมีศูนย์กลางกันมาก   อาคารแบบมีศูนย์กลางอาจมี หลายรูปทรง เช่น ทำเป็นรูปทรงไม้กางเขนกรีก อยู่ภายในรูปจัตุรัส หรือไม่ก็รูป
วงกลม       โบสถ์ที่มีผังชนิดมีศูนย์กลางมักทำหลังคาทรงโค้ง  หรือทรงกลมด้วย อิฐหรือหิน   อาคารทรงเรือนโถงขนาดใหญ่มักทำเครื่องบนหลังคาด้วยไม้ท่อน      จิตรกรรมมีทำบนฝาผนังและแผงไม้   ตลอดจนทำเป็นภาพประกอบเรื่องในหนังสือ เขียนด้วยสีฝุ่น  สีขี้ผึ้งร้อน และสีปูนเปียกอย่างแห้ง  แสดงรูปคนกำลัง สวดมนต์ และภาพปาฏิหารย์ตอนสำคัญของพระผู้เป็นเจ้าที่นำมาจากพระคัมภีร์ เก่าและใหม่ หนังสือในสมัยแรก  ๆ      ทำมาจากหนังสัตว์และเป็นหนังสือม้วน ภาพประกอบเรื่องในหนังสือแสดงให้เห็นความเป็นธรรมชาติ  โดยแก้ไขให้ เป็นเชิงสัญลักษณ์มากกว่าจะเป็นธรรมชาติแท้ๆ ลักษณะของภาพเป็นรูปแบน และเป็นการใช้สีอย่างประหลาด ๆ        งานประติมากรรมในยุคคริสเตียนถูกลดความสำคัญ         อันเนื่องมากจากบท บัญญัติในพระคัมภีร์ เกี่ยวกับรูปเคารพบูชา     ประติมากรรมมักจำกัดอยู่กับงาน ขนาดเล็ก ๆ ได้แก่ งานแกะสลักรูปคนบนโลงศพ  ถ้วยและจานโลหะ งานแกะสลักงาช้าง  โกศบรรจุธาตุศักดิ์สิทธิ์  คำว่า “ไบเซนไทน์” เรียกตามชื่อ จักรวรรดิไบเซนไทน์ ที่มีกรุงคอน สแตนติโนเปิล เป็นเมืองหลวง    (ปัจจุบันคือกรุงอิสตันบูลเมืองหลวงของประเทศตุรกี) ลักษณะศิลปะไบเซนไทน์ มีลักษณะคาบเกี่ยวกับศิลปะคริส-เตียนอยู่มาก และยัง มีสืบเนื่องกันต่อมาเป็นเวลาอีกยาวนาน  โดยมีลักษณะศิลปะแบบตะวันออกมาผสมผสานอยู่ด้วยต่อไปเป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรม ประติมากรรมและจิตรกรรมเพื่อให้นักเรียนเห็นลักษณะของผลงานเช่น ๑.๑ โบสถ์เซนต์โซเฟีย St.Sophia ค.ศ.๕๓๒-๕๓๗  เป็นสถาปัตยกรรมแห่งการผสมผสาน นับเป็นแหล่งรวมลักษณะความโดดเด่นของกรีกโรมันและลักษณะตะวันออกแบบอาหรับหรือเปอร์เซีย ไว้ในผลงานชิ้นเดียวกันได้อย่างกลมกลืน ๑.๒ ภาพขบวนแถวของนักบวช ประมาณปี ค.ศ.๕๖๐       เป็นภาพ โมเซอิค ( Mosaic ) คือใช้กระเบื้องเคลือบชิ้นเล็กๆ มาประกอบกัน   ๑.๓ ภาพพระแม่แห่งวลาดิเมียร์ Vladimir  ประมาณปี ค.ศ.๑๑๒๕  เป็นงานจิตรกรรมที่เขียนสีลงบนแผ่นไม้ไว้สำหรับเคารพบูชาในบ้าน  เรียกว่า ไอคอน (Icon)
                    ๒.ศิลปะโรมาเนสก์ Romanese (พ.ศ.๑๕๔๐ – ๑๗๔๐)          สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์เป็นการก่ออิฐฉาบปูนมีหลังคาทรงโค้งกากบาท และมีลักษณะสำคัญ คือ  ๑. มีความหนักแน่น ทึบคล้ายป้อมโบราณ  ๒. มีโครงสร้างวงโค้งอย่างโรมัน  ๓. มีหอสูง  ๒  หอ หรือมากกว่านั้น  ๔. มีช่องเปิด ตาหน้าต่างหรือประตูทำเป็นโครงสร้างวงโค้งวางชิด ๆ กัน  ๕. มีหัวคานยื่นออกนอกผนัง เป็นคิ้วตามนอนนอกอาคาร  ๖. มีหน้าต่างแบบวงล้อ เป็นรูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นซี่     สำหรับงานศิลปกรรมอื่น ๆ  ส่วนมากมักเป็นงานแกะสลักงาช้างขนาดเล็ก ๆ หรือไม่ก็เป็นงานที่เขียนบนหนังสือแบบวิจิตร เรื่องราวของงานศิลปะจะนำมา จากพระคัมภีร์ฉบับเก่าและใหม่   ตำนานโบราณ   ชีวประวัตินักบุญ   รูปเปรียบเทียบความดีกับความชั่ว หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นรูปดอกไม้ และรูปเราขาคณิต
                   ๓.ศิลปะโกธิค ( Gothic )        คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ ในประเทศฝรั่งเศสเป็นหลัก ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมสมัยโกธิค คือ มีลักษณะสูงชลูด และส่วนที่สูงที่สุดของโบสถ์จะเป็นที่ตั้งของกางเขนอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะเป็นที่ติดต่อกับพระเจ้าบนสรวงสวรรค์ ได้แก่
                               ๓.๑ วิหารโนเตรอ-ดาม ( Notre-Dame ) กรุงปารีส ฝรั่งเศส  ภาพกระจกสี (Stain glass ) นับเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรม ทางศาสนาคริสต์
                               ๓.๒ ภาพถนนไปสู่รูปเคารพ โดย ไซมอน มาตินี พ.ศ.๑๘๘๓    เป็นงานจิตรกรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ในรูปแบบ ของภาพวาดแบบเหมือนจริง
                                ๓.๓ รูปเซนต์แฟร์แมง St.Fermin พ.ศ.๑๗๖๘        ประติมากรรมตกแต่งวิหารอาเมียงส์ สะท้อนเรื่องราวทางศาสนา และลักษณะโครงสร้างสูงชะลูด
                   ๔.ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ(Renaissance)     ศิลปะสมัยฟื้นฟู เกิดขึ้นในตอนปลายของยุคกลางตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ เมื่อชาวยุโรปได้กลับมาพิจารณาเหตุผลความถูกต้อง และเริ่มค้นพบตัวเองและโลกรอบๆ ตัว เกิดเป็นกระบวนการมนุษยนิยม ซึ่งเป็นการค้นคว้าหาความจริงเกี่ยวกับตัวมนุษย์เอง และสิ่งรอบตัวที่อยู่นอกเหนือสาระสำคัญทางศาสนา ซึ่งมีผลกระทบต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยตรง มีการพยายามปลูกฝังความจริงและความสนใจในโลกปัจจุบัน เกิดการตื่นตัวหรือการเกิดใหม่ของงานศิลปะในสมัยคลาสสิก (Classic) ตามแบบกรีก – โรมัน ศิลปินมีความกล้าที่จะแหวกวงล้อมของอิทธิพลศิลปะโกธิคไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่วนในทางวิทยาศาสตร์และการประดิษฐ์ มีการค้นพบระบบสุริยจักรวาลของโคเปอร์นิคัส การค้นพบกระบวนการพิมพ์หนังสือของ กูเตนเบอร์กและฟุสท์อิตาลีถือว่าเป็นศุนย์กลางของความเจริญก้าวหน้าที่สำคัญโดยเฉพาะเรื่องของศิลปกรรม ศิลปะในสมัยฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ เป็นยุคสมัยที่มีคุณค่ายิ่งต่อวิวัฒนาการทางจิตรกรรมของโลก คือ ความมีอิสระในการสร้างสรรค์ศิลปะของมนุษย์ ความมีลักษณะเฉพาะตัวของศิลปิน กล้าที่จะคิดและแสดงออกตามแนวความคิดที่ตนเองชอบและต้องการแสวงหา ได้มีการคิดค้นการเขียนภาพลายเส้นทัศนียภาพ (Linear Perspective) ซึ่งนำไปสู่การเขียนภาพทิวทัศน์ที่งดงาม นอกจากนี้ศิลปินได้พยายามศึกษากายวิภาคด้วยการผ่าตัดศพ พร้อมฝึกวาดเส้นสรีระและร่างกายมนุษย์อย่างละเอียด แสดงกระดูกและกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง ความเจริญก้าวหน้าในงานจิตรกรรมสีน้ำมันประสบความสำเร็จอย่างสูงในยุคนี้ด้วย
                               ๔.๑โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ St.Perter’s Cathedral  กรุงโรม อิตาลี พ.ศ.๒๐๔๙–๒๐๘๙ โดนาโต บรามานเต (Donato Bramante) เป็นสถาปนิกผู้ริเริ่มออกแบบและคุมการก่อสร้างแต่บรามานเตถึงแก่กรรมก่อนงานจะเสร็จ  จึงเป็นภาระหน้าที่ของสถาปนิกอีกหลายคน จนกระทั่ง พ.ศ.๒๐๘๗  มิเคลันเจโล บูโอแนร์โรติ ( Michelangelo Buonarrotii ) ได้รับการติดต่อจากสันตะปาปาจอห์นปอลที่ ๓ ให้เป็นสถาปนิกรับผิดชอบออกแบบก่อสร้างต่อไป โดยเฉพาะอาคารที่อยู่ตรงกลาง มิเคลันเจโลได้แรงบันดาลใจมาจากวิหารแพนธีออน(Pantheon)ของจักรวรรดิโรมัน
                               ๔.๒ ภาพกำเนิดอาดัม Birth of Adum พ.ศ.๒๐๕๑- ๒๐๕๕    โดย มิเคลันเจโล  บูโอแนร์โรติ (Michelangelo Buonarrotii)    เป็นงานจิตรกรรมฝาผนัง (Mural Painting) ที่เขียนไว้ตกแต่ง     เพดานโบสถ์ซิสทีนด้วยวิธีการวาดภาพปูนเปียก (Fresco)๔.๓ ภาพโมนาลิซ่า Mona Lisa พ.ศ.๒๐๔๖-๒๐๔๘      โดย เลโอนาร์โด ดา วินซี (Leonardo daVinci)    เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้าใบ ขนาด ๓๐.๕ x ๒๑ นิ้ว แสดงให้เห็น    ถึงความสามารถในการถ่ายทอดแบบเหมือนจริง (Realistic) การ    พิถีพิถันเรื่องการจัดวางมือที่งดงาม แววตาและรอยยิ้มอย่างมีเลศนัย    การนำธรรมชาติมาเป็นฉากหลังและสร้างมิติใกล้ไกลแบบ    วิทยาศาสตร์ ตามที่ตามองเห็น (ทัศนียภาพหรือ Perspective)     เลโอนาร์โด ดา วินซี เป็นผู้ริเริ่มการเขียนภาพแบบแสดงค่าตัดกัน     ระหว่างความมืดกับความสว่างที่เรียกว่า คิอารอสคูโร     (Chiaroscuro)
                               ๔.๔ ภาพดาวิด  David  พ.ศ.๒๐๔๔-๒๐๔๗ โดย มิเคลันเจโล    เป็นการแกะสลักหินอ่อน เน้นความสมบูรณ์ทางสรีระมนุษย์อย่าง    ชัดเจนตามแบบกรีก-โรมัน การจัดท่วงท่าที่งดงามด้วยการใช้ขาข้าง    หนึ่งรับน้ำหนัก อีกข้างหนึ่งงอพัก แขนข้างหนึ่งห้อยขนาน อีกข้าง    หนึ่งยกขึ้นในอิริยาบถที่ไม่ซ้ำกับแขนอีกข้าง ให้ความรู้สึกที่สง่างาม    เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ประติมากรรมชิ้นนี้มีความสูง ๑๓ ฟุต ๕ นิ้ว                 ภาพปิเอต้า (Pieta) เป็นผลงานของมิเคลันเจโลที่งดงามอีกชิ้นหนึ่ง
                  ๕. ศิลปะแบบบาโรก (Baroque) พ.ศ.๒๑๒๓-๒๒๙๓    คริสต์ศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ เป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อการแสดงออกที่เรียกร้องความสนใจมากเกินไป มุ่งหวังความสะดุดตาราวกับจะกวักมือเรียกผู้คนให้มาสนใจศาสนา มีการประดับตกแต่งที่ฟุ้งเฟ้อเกินความพอดี   อาจกล่าวได้ว่าศิลปะบาโรกมีลักษณะงานที่เกิดจากความอิ่มตัวของศิลปะในสมัยเรอเนซองส์ ประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่นักปราชญ์ทางคณิตศาสตร์เฟื่องฟู มีผลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะในสมัยนี้โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมซึ่งนิยมออกแบบให้มีลวดลายเรขาคณิตจำพวกเส้นโค้ง และการจัดลวดลายที่วางระยะห่างเหมาะสมกับพื้นที่ว่าง การตกแต่งภายในอาคารเน้นความหรูหรา สง่า น่าเกรงขาม แสดงถึงความมั่งคั่ง หรูหรา โดยเฉพาะกรุงปารีส เป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะและวัฒนธรรมในสมัยนั้น
                                  ๕.๑  พระราชวังแวร์ซายล์ส Versailles  พ.ศ.๒๒๐๔-๒๒๓๔ สร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อประกาศให้นานาประเทศได้เห็นถึงอำนาจและบารมีของพระองค์
                                   ๕.๒ ความปลาบปลื้มยินดีของเซนต์เทเรซา St.Theresa พ.ศ. ๒๑๘๘-๒๑๙๕ โดย โจวันนี ลอร์เรนโซ เบอร์นินี่ (Giovanni Lorenzo Bernini) ประติมากรชาวอิตาเลียน       เป็นงานประติมากรรมที่แสดงอาการความรู้สึกเคลื่อนไหวมีชีวิต ประหนึ่งว่ามีลมหายใจ ผลงานชิ้นนี้บ่งบอกถึงการทำงานอย่างมีการวางแผน เพื่อให้ผลงานและพื้นที่ทั้งหมดอยู่ร่วมกันได้อย่างงดงามและกลมกลืน
                                  ๕.๓ ภาพยามกลางคืน In the night พ.ศ.๒๒๐๗ โดย เรมบรานดท์ ฟาน ริจ์น (Rembrandt Van Rijn) เป็นงานจิตรกรรมที่มีการใช้แสงเงากำหนดพื้นที่สว่างบนเงาเข้มได้อย่างยอดเยี่ยม
                  ๖. ศิลปะแบบโรโคโค (Rococo) พ.ศ.๒๒๖๑-๒๓๒๒    คริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ หลังจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ สวรรคตแล้ว ฝรั่งเศสยังคงเป็นศูนย์กลางทางศิลปะและวัฒนธรรม แต่ศิลปะได้เริ่มเปลี่ยนจากบาโรกเป็นโรโคโคศิลปะโรโคโคนั้นได้ลดทอนบางอย่างลงไป เช่น ลวดลายที่หนาแน่นในแบบบาโรกได้ถูกลดลงเพื่อทำให้ดูบอบบางและปรับปรุงลวดลายให้เกิดความอ่อนหวาน นำเส้นตรงมาใช้มากขึ้น
                                  ๖.๑ ภาพกำเนิดวีนัส Birth of Venus พ.ศ.๒๒๙๐   โดย ฟรองซัวส์ บูแชร์ (Francoise Boucher) เป็นศิลปินผู้มีฐานะและบทบาทสำคัญโดยเป็นผู้นำที่รับผิดชอบทางด้านจิตรกรรมของราชสำนัก ผลงานจิตรกรรมของเขาแสดงถึงสีสันที่สวยงาม สอดคล้องกลมกลืนกับเรื่องราวที่ให้ความรื่นเริง ชวนฝัน อิ่มสุข ดังปรากฏให้เห็นในพระราชวัง แวร์ซายลส์
                                   ๖.๒ พระราชวังเปอติต ตริอานอง Petit Trianon ที่เมืองแวร์ซายล์ส เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความหรูหราและสง่างามด้วยการตกแต่งทั้งภายนอกและภายในอย่างพิถีพิถัน โครงสร้างภายนอกมีหลายรูปแบบ เช่น หลังคาโค้ง ผนังสี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม และมีการตกแต่งภายในด้วยกระจก
                                    ๖.๓ แบจิอัส โดย ฟอลโคเนท์ Etienne Maurica Falconetพ.ศ.๒๓๐๓ เป็นประติมากรรมหินอ่อน มีความสูงเพียง ๓๘ ซม. บ่งบอกถึง การเป็นส่วนหนึ่งของกรีก-โรมัน และมีลักษณะเป็นแบบวิชาการชั้นสูง(Classic Academy Charactor) นิยมแสดงออกในรูปแบบเหมือนจริง สะท้อนให้เห็น ความกลมกลืนกับคตินิยมของศิลปะโรโคโค โดยเฉพาะด้านเรื่องราวและการจัด ท่าทางที่มุ่งหวังทำให้เกอดความรู้สึกชื่นชมในสิ่งที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์  ศิลปะสมัยใหม่      ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ เมื่อสภาพสังคมชนชั้นกลางในสังคมตะวันตกค่อยๆ ก้าวเข้ามามีบทบาทเป็นผู้นำในสังคมใหม่ ทั้งในยุโรปและอเมริกา มีการสร้างระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ นั่นคือ ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม (Industrial Capitalism) นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งระบบสังคมนิยม (Socialism) เพื่อเป็นการพิทักษ์ผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานขึ้นมาต่อสู้กับระบบทุนนิยม ด้วยการประนีประนอมกันโดยอาศัยกติกาทางการเมือง นอกจากนี้แนวคิดแบบเสรีนิยม(Liberalism) ซึ่งเกิดขึ้นในยุคแห่งความรู้แจ้งในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ โดยอิงอยู่บนหลักการที่ว่า ปัจเจกบุคคลแต่ละคนมีความสามารถใช้เหตุผล จินตนาการ และจิตใจเชิงวิพากษ์วิจารณ์เพื่อประโยชน์ของตนเองและส่วนรวมได้ รวมถึงการเปิดโอกาสให้บุคคลได้แสดงความคิดเห็น ความสามารถและคุณค่าของตนเองอย่างเสรี ประกอบกับมีการปฏิวัติวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมและเพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดแนวความเชื่อที่ว่า วิทยาศาสตร์จะช่วยให้มนุษยชาติเจริญก้าวหน้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามโลกขึ้นสองครั้ง อีกทั้งความเสียหายของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้อย่างเกินขอบเขต ทำให้ชาวตะวันตกรู้จักใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น      จากสภาพสังคมและอิทธิพลแนวคิดดังกล่าวส่งผลต่อแนวทางการสร้างสรรค์งานศิลปะ ดังนี้
           ศิลปะคลาสสิกใหม่ (Neo-Classicism)เป็นลัทธิทางศิลปะที่มีรากฐานอยู่บนเหตุผลและมีแบบแผนเช่นเดียวกับศิลปะกรีกและโรมัน ความงามของศิลปะจึงปรากฏออกมาในรูปของสัดส่วนที่ถูกต้องตามหลักกายวิภาค เน้นความประณีต ละเอียดอ่อน นุ่มนวล และเหมือนจริงด้วยสัดส่วนและแสงเงา เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของศิลปะสมัยกลางและสมัยใหม่ เป็นประตูของประวัติศาสตร์บานสำคัญที่ทำหน้าที่แง้มไปสู่โลกแห่งเสรีภาพอันมีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา จะเห็นได้จากผลงานดังต่อไปนี้- ภาพคำสาบานของพวกฮอราติไอ The Oath of Horatii พ.ศ.๒๓๒๗  โดย ยาค หลุยส์ เดวิด (Jacques Louis David)           เป็นเรื่องราวความรักชาติของนักรบโรมัน ๓ คนที่รับดาบจากบิดาเพื่อ สู้รบกับศัตรูโดยยึดถือผลประโยชน์ของรัฐเป็นหลัก ส่วนครอบครัว คนรักและ ความผูกพันระหว่างพี่น้องเป็นผลประโยชน์ด้านรอง          แสดงให้เห็นความสมจริงทั้งสัดส่วน มิติ น้ำหนักและแสงเงาตามแบบ เดิม มีการนำลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมสมัยกรีกและโรมันมาสร้าง เป็นพื้นหลังซึ่งจะแฝงไว้ด้วยความรักชาติ ความเสียสละ สำนึกผิดชอบต่อประชาชน
                      ๑. ลัทธิจินตนิยม(Romanticism) ประมาณ พ.ศ.๒๓๔๓-๒๔๔๓       เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญและยอมรับในความจริงของจิต สุนทรียภาพ ของศิลปะจึงอยู่ที่การตัดกันของน้ำหนัก แสงและเงา ตลอดจนสีและการจัดภาพเพื่อให้เกิดความจริง มุ่งสร้างสรรค์งานที่ตื่นเต้น เร้าใจ ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจแก่ผู้ชม ได้แก่
                                        ๑.๑ ภาพ ๓ พฤษภาคม ๑๘๐๘ The Third of may 1808โดย ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) พ.ศ.๒๓๕๗  เป็นภาพแสดงเหตุการณ์ปฏิวัติในฝรั่งเศส
                                        ๑.๒ ภาพการอับปางของแพเมดูซา The Raft of The Medusaโดย ธีโอดอร์ เจอริโคลต์ (Theodore Gericault) พ.ศ.๒๓๖๒     เดอลาครัวซ์เป็นศิลปินชาวฝรั่งเศสที่พัฒนาตนเองมาจากการศึกษาศิลปะ ในอดีตจนกลายเป็นผู้นำลัทธิจินตนิยมเรื่องราวที่เขียนเกิดจากการได้รับทราบเหตุการณ์ การประสบอุบัติเหตุเรือแตกของเรือลำหนึ่ง โดยมีผู้รอดชีวิตจำนวนหนึ่งต้องเผชิญกับภัยอย่างอ้างว้างบนแพอันจำกัดกลางท้องทะเลแห่งคลื่นลมและความหิว มีวิธีการจัดภาพโดยการกำหนดแสงเงาแบบสว่างจัดมืดจัดตัดกันอย่างรุนแรงอิริยาบถของผู้คนได้รับการจัดท่าทางอย่างสมบทบาท การแสดงออกบนใบหน้าและท่าทางทำให้เกิดวามรู้สึกที่หลากหลาย นับตั้งแต่ลีลาที่อ่อนล้าโรยแรง จนถึงความตื่นเต้นเมื่อเห็นเกาะอยู่ลิบๆ
                                       ๑.๓ ภาพเสรีภาพนำหน้าประชาชน Liberty Guilding Peopleโดย เออแฌน  เดอลาครัวซ์ (Eugene Delacroix) พ.ศ.๒๓๗๓       งานจิตรกรรมชิ้นนี้เป็นภาพที่ได้แรงบันดาลใจมากเหตุการณ์การปฏิวัติในฝรั่งเศส จะเห็นว่าภาพนี้สามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึกได้อย่างตื่นเต้น  นับตั้งแต่การเลือกเรื่องราว การจัดภาพ การกำหนดแสงเงาที่ตัดกัน เอกภาพ ของทิศทางของกลุ่มคนยืนขัดแย้งกับทิศทางของผู้บาดเจ็บล้มตาย การให้ความสำคัญในท่าทางอิริยาบถของทุกคน การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านท่าทาง ใบหน้าและดวงตา
                                       ๑.๔ ภาพพายุหิมะ Snowstorm     โดย โจเซฟ แมลลอร์ด วิลเลี่ยม เทอร์เนอร์ (Joseph Mallord William Turner) พ.ศ.๒๓๘๔ – ๒๓๘๕ เทอร์เนอร์เป็นศิลปินชาวอังกฤษที่ทำงานด้านปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และทิวทัศน์ ในภาพพายุหิมะเป็นการถ่ายทอดบรรยากาศของเรือกลไฟ ที่ใกล้อับปางท่ามกลางคลื่นลมกลางทะเล
                      ๒. ลัทธิสัจนิยม (Realism)            เป็นรูปแบบศิลปะที่พยายามหนีความเป็นอุดมติ(Idealism) มุ่งค้นหาชีวิตจริง ศิลปินในสมัยนี้จึงวาดภาพที่สะท้อนความจริงในชีวิตของบุคคลต่างๆ ตั้งแต่ขอทานไปจนถึงชนชั้นขุนนางและกษัตริย์ เพื่อแสดงออกซึ่งสัจธรรมที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีภาพทิวทัศน์และความงดงามของธรรมชาติที่สะท้อนจากประสบการณ์ของศิลปินเหมือนเป็นการบันทึกเรื่องราวที่ศิลปินได้พบมาศิลปินในความหมายของสัจนิยม คือ ผู้แสดงออกซึ่งความจริงที่ตนได้เห็นมา ศิลปินกล้าเผชิญกับความจริงและสร้างงานที่เป็น ผลิตผลมาจากความจริง โดยแสดงออกมาให้ละเอียดครบถ้วนตามความสามารถ
                                      ๒.๑ ภาพร่อนข้าวโพด The Corn Siftersโดย กุสตาฟ   คูร์เบท์  (Gustave  Courbet) พ.ศ.๒๓๙๘
                                      ๒.๒ ภาพคนเก็บข้าวตก The Gleaners โดย ฌอง ฟรังซัวส์  มิล์เลท์ (Jean-Francois  Millet)พ.ศ.๒๔๐๐
                     ๓.ลัทธิประทับใจ (Impressionism)        หลังจากศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ศิลปะได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่มากขึ้น เพราะศิลปินมีความคิดว่าศิลปะสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องยึดมั่นอยู่กับรูปแบบศิลปะตามแบบเก่าๆ อีกต่อไป ภาพเขียนไม่จำเป็นต้องวาดเลียนแบบธรรมชาติ แต่ศิลปะควรมาจากการรับรู้ ซึ่งเกิดจากความประทับใจของศิลปินที่มีต่อธรรมชาติ ผู้คน บ้านเมือง สิ่งแวดล้อมและชีวิตที่รื่นรมย์ เช่น การสังสรรค์ บัลเลต์ นิยมเขียนภาพนอกห้องปฏิบัติงาน รูปแบบของศิลปะลัทธิประทับใจ        เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับแสงและเงา พยายามแสดงคุณสมบัติของแสงสี อันเป็นผลมาจากความรู้เกี่ยวกับสเปกตรัมและสี บันทึกการสะท้อนแสงบนพื้นผิวของวัตถุรวมทั้งสภาพบรรยากาศในแต่ละช่วงเวลา ที่ศิลปินได้รับรู้จากสิ่งที่ตนเห็นและประทับใจแล้วแสดงความรู้สึกนั้นออกมาทันที นิยมวาดสิ่งที่เคลื่อนไหวและมีการเปลี่ยนแปลงของแสง เช่น แม่น้ำ ดวงอาทิตย์ ทะเล และลำคลอง เป็นต้น มีวิธีการระบายสีอย่างรวดเร็ว ใช้เทคนิคพู่กันโดยทิ้งรอยแปรงและมีความฉับไวในการจับแสง สี ในบรรยากาศ ศิลปินนิยมใช้สีเหลืองในบริเวณแสง ใช้สีม่วงในบริเวณเงา ไม่นิยมใช้สีดำหรือน้ำตาล เพราะเป็นสีที่ไม่อยู่ในสเปกตรัม
                                     ๓.๑ ภาพอาหารกลางวันบนสนามหญ้า Lunch on the Grassโดย เอดวอร์ด  มาเนท์ (Edouard Manet) พ.ศ.๒๔๐๖       เป็นภาพที่สร้างความแปลกและตื่นตระหนกให้แก่ชาวฝรั่งเศสเป็นอันมาก เพราะเป็นภาพที่ผู้ชายแต่งกายเรียบร้อยและผู้หญิงเปลือยกาย
                                    ๓.๒ ภาพความประทับใจเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น Impression Sunriseโดย โคลด  โมเนท์ (Claude  Monet) พ.ศ.๒๔๑๕      เป็นภาพที่เป็นที่มาของคำว่า “ประทับใจ” ซึ่งทำให้เกิดลัทธิประทับใจขึ้น
                                  ๓.๓ ภาพสวนที่จิแวร์นี Garden at Giverny  โดย โคลด  โมเนท์  (Claude  Monet)      
                                   ๓.๔ ภาพห้องเรียนเต้นรำ The Dancing Classโดย เอ็ดการ์  เดอกาส์ (Edgar  Degas)๓.๕ ผลงานประติมากรรมชื่อ นักคิด The Thinkerโดย โอกูสต์   โรแดง (Auguste  Rodin)เป็นงานประติมากรรมที่แสดงพื้นผิวขรุขระ แสดงถึงอารมณ์เก็บกดและทรมานใจ
                     ๔. ลัทธิประทับใจใหม่ (Neo-Impressionism)       ต่อมาศิลปะลัทธินี้ได้มีการพัฒนาขึ้น จึงมีนักประวัติศาสตร์ศิลป์จำแนกงานศิลปะลักษณะนี้ให้อยู่ในกลุ่ม“ประทับใจใหม่ Neo Impressionism”ศิลปินได้นำเอาหลักวิทยาศาสตร์เรื่องแสงมาใช้ ทำให้เกิดเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า การผสมสีด้วยดวงตา (Optic Mixture) โดยอาศัยวิธีการระบายสีเป็นจุด (Pointilism) ผลงานที่ได้จึงมีความสดใส
                                   ๔.๑ ภาพบ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากรองด์แจตท์ Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte โดย ยอร์จ  เซอราต์ (George  Seurat) พ.ศ.๒๔๒๙
                                  ๔.๒ ภาพถนนมองท์มาร์ทยามพลบค่ำ Bouleward Montmartre in the Eveningโดย คามิลล์   พิซาโร (Camille  Pessaro) พ.ศ.๒๔๔๐
                    ๕. ลัทธิประทับใจยุคหลัง (Post Impressionism)          เป็นการพัฒนามาจากลัทธิประทับใจ ทำให้เกิดรูปแบบงานศิลปะที่มีลีลาต่างจากเดิม ซึ่งนักประวัติศาสตร์ศิลป์เรียกว่า “กลุ่มประทับใจยุคหลัง Post Impressionism” เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับความเชื่อที่ว่า “การเขียนให้มีรายละเอียดโดยเลียนแบบอย่างเป็นจริงตามธรรมชาติจะเป็นจุดมุ่งหมายอันแท้จริงของจิตรกรรม” ศิลปินกลุ่มนี้ไม่นิยมการลอกเลียนแบบ แต่พยายามสร้างรูปทรงและบรรยากาศให้มีความสัมพันธ์กลมกลืนกัน มีการลดทอนรูปทรงให้ง่าย ภาพจะกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก เกิดมิติของระยะใกล้-ไกล 
                                  ๕.๑ ภาพห้องนอนที่อาลส์ The Bedroom at Arlesโดย วินเซนต์ ฟาน ก๊อก (Vincent van Gogh)      เป็นศิลปินสองสมัยระหว่างโพสท์อิมเพรสชั่นนิสม์และเอ็กเพรสชั่นนิสม์(Expressionism) ทั้งนี้เพราะผลงานในระยะแรกของเขาแสดงลักษณะแสงสีมากกว่าความรู้สึกประทับใจ เช่น ภาพราตรีประดับดาว (The Starry Night) ส่วนผลงานในระยะหลังแสดงความรู้สึกภายในมากกว่า มีลักษณะเด่นตรงรอยแปรงที่ทำให้เกิดความรู้สึกแสดงพลังที่มีชีวิต การแปรปรวนของอารมณ์ เช่น ภาพดอกทานตะวัน (Sunflower) และภาพเหมือนของตนเอง (Self Portrait)
                                 ๕.๒ ภาพ ณ มูแลง รูจ Le Moulin Rougeโดย ทูลูส-โลเทรค (Henri de Toulouse-Lautrec)  ภาพถ่ายทูลูส-โลเทรค   ผลงานออกแบบโปสเตอร์
                                 ๕.๓ ภาพหุนนิ่งกับแอบเปิ้ล  Still Life with Applesโดย พอล  เซซานน์ (Paul  Ce Zanne) พ.ศ.๒๔๓๓-๒๔๔๓      ผลงานของเขาแสดงออกซึ่งความรู้สึก สีและรูปทรงเป็นแบบง่ายๆ มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ให้ความสำคัญกับสีมาใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับระยะ ใช้สีเข้มแสดงระยะใกล้ สีอ่อนแสดงระยะไกล
                                 ๕.๔ ภาพเมื่อไรเธอจะแต่งงาน When are You to be Married?โดย พอล  โกแกง(Paul Gaugin) พ.ศ.๒๔๓๕      ผลงานของเขามีลักษณะเด่นตรงที่การให้สีที่รุนแรงและตัดทอนรายละเอียดของรูปทรงให้เรียบง่ายขึ้น โดยเน้นเฉพาะส่วนสำคัญ                     
                  ๖. ลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism)        เป็นลัทธิที่แสดงออกซึ่งความรุนแรง ตื่นเต้น เริ่มขึ้นในฝรั่งเศส โดยมี อองรี มาตีส (Henri Matisse) เป็นผู้นำกลุ่ม ลัทธินี้ล้มเลิกกฎเกณฑ์โบราณ โดยแสดงออกซึ่งความรู้สึกและความเป็นตัวเองมากขึ้น นิยมระบายสีสดและรุนแรง รูปทรงของวัตถุแสดงออกมาหยาบๆ ไม่เน้นรายละเอียดและหลักทัศนียภาพ สุนทรียภาพของงานศิลปะในลัทธินี้เกิดจากความต้องการที่จะแสดงออกอย่างเต็มที่  ผลงานจึงแสดงออกถึงลีลาความสนุกสนานที่เกิดมาจากเส้น รูปทรง สีและแสง วาดตัดเส้นด้วยสีสดใส หรือลวดลายทำให้เกิดความรู้สึกแปลกใหม่ ศิลปินโฟฟจะใช้สีสดล้วนๆ ในการแสดงระนาบ และแสดงวัตถุ ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ หรือไกล แม้แต่การให้แสง และเงา ก็เป็นบริเวณของสีสดๆทั้งสิ้น ซึ่งก็อาจเล่นสีร้อน สีเย็นได้ สีที่กลุ่มจิตรกรโฟฟใช้นี้ มิใช่ใช้ตามที่ตาสัมผัส เห็น แต่ จะใช้ไปตามอารมณ์ และความพอใจของศิลปินเอง สีจัดๆ ที่สดใสสีหนึ่งจะอยู่เคียงกับอีกสีหนึ่ง เป็นฝีแปรงหลวมๆ ที่แต้มต่อตัดกันไป ให้เกิดพื้นผิวภาพ ที่มีสีเพื่อแสดงอารมณ์ของสีในตัวของมันเองอย่างอิสระ มิใช่แสดงให้เห็นว่า คือของสิ่งใด เป็นการแสดงความพอใจในการเล่นสีของจิตรกรเอง การสร้างภาพให้แบนและให้ระนาบคลุมเครือนี้ เป็นการหักเหออกจากหลักการเรื่อง Perspective ในแบบสมัยเก่าๆ        กลุ่มศิลปิน Fauvism นี้ได้นำหลักการของจิตรกรในอดีตมาใช้ แต่นำหลักการเหล่านั้นมาใช้ อย่างรุนแรง เด็ดขาด จนผ่านเลยผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ไปไกล ทำให้สีมีบทบาท 2 อย่างควบกันไปคือ สีประสานกัน สร้างเค้าโครงของภาพขึ้นมา   พร้อมกับอีกหน้าที่หนึ่งคือ สีจะแสดงความรู้สึก ของสีออกมา มาตีสก็ได้นำเอาเทคนิคต่างๆ ทั้งของ Signac, Cross, Gauguin, Van Gogh, Seurat และศิลปิน คนอื่นๆ ที่มาตีสเคยสัมผัส โดยเขาได้นำเทคนิคต่างๆ ของจิตกรเหล่านี้มาคิดค้น ดัดแปลง และหาแนวทางใหม่ๆ ให้กับ ตัวเขาเอง และในที่สุด ในปีค.ศ. ๑๙๐๕ มาตีสก็ได้ทำงานที่เป็นแบบฉบับของเขาออกมา นั่นก็คือภาพ”Green Stripe ( Madame  Matisse )”  แต่ถ้าเราจะมองกลุ่มศิลปินโฟฟ ในแง่การแสดงความรู้สึกออกมาแรงๆนั้น เราอาจเรียกศิลปินกลุ่มนี้ว่า เป็น Expressionism ในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้
                   ๗. ลัทธินาอีฟหรือแนฟว์ (Naive) เป็นลัทธิที่แสดงออกทางศิลปะแบบขาดหลักวิชาในเชิงช่าง แต่เต็มไปด้วยความตั้งใจที่จะวาดให้เหมือนจริงมากที่สุด เนื้อหาเรื่องราวล้วนสะท้อนให้เห็นภาพธรรมชาติที่ถูกดัดแปลงไปตามความต้องการของจิตรกร มีลักษณะและรูปแบบเฉพาะตน เน้นอารมณ์ความรู้สึกต่อวิถีแห่งธรรมชาติ มีรายละเอียดในภาพมาก ผลงานแบบนาอีฟจึงดูคล้ายกับงานของเด็ก  ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่ ภาพยิปซีหลับ (The Sleeping Gypsy)โดย อองรี  รุสโซ (Henri  Rousseau)      ภาพถ่าย Paul Goguin          Self Portrait and his Paintingsและภาพสิงโตหิว (The Hungry Lion)
                ๘. ลัทธิคิวบิสม์ (Cubism) เป็นลัทธิที่ถ่ายทอดศิลปกรรมเป็นรูปทรงแบบเรขาคณิต สุนทรียภาพ ของลัทธินี้อยู่ที่โครงสร้างปริมาตรและรูปทรง ซึ่งเป็นสัจธรรมอันสูงสุดของสรรพสิ่ง ไม่นิยมใช้สีที่รุนแรง ผลงานส่วนใหญ่เป็นสีหม่น ลัทธินี้เริ่มเคลื่อนไหวในประเทศฝรั่งเศส โดยจิตรกร ๒ คน คือ จอร์  บราค (George  Braque)ชาวฝรั่งเศส และ ปาโบล   ปิกัสโซ (Pablo Picasso) ชาวสเปน ซึ่งต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจาก ปอล เซซาน ซึ่งมีความคิดว่า “เรขาคณิตเป็นโครงสร้างพื้นฐานของรูปทรงทางธรรมชาติ” ๘.๑ ภาพหญิงสาวแห่งอาวียอง Les Demoiselles d’Avignon          โดย  ปาโบล   ปิกัสโซ  (Pablo  Picasso) พ.ศ.๒๓๕๐  ภาพเกอนิกา (Guernica)๘.๒ ภาพชาวโปรตุเกส  (The Portuguese)โดย จอร์จ   บราค  (George  Braque)
          
                   ๙. ลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism)        เป็นลัทธิที่เกิดขึ้นในอิตาลี โดยมีหลักการเน้นในเรื่องความเคลื่อนไหว แสดงความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน มีการนำหลักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความเร็วมาเขียนเป็นจังหวะซ้ำๆ กัน เพื่อสร้างความเร็วให้มองเห็นได้ ศิลปินลัทธินี้ปฏิเสธความเพ้อฝันแต่ยกย่องการเคลื่อนไหวของร่างกายและวัตถุ เช่น การวาดภาพคนกำลังวิ่ง สุนัขกำลังกระดิกหาง วงล้อของรถยนต์ และมือในขณะกำลังสีไวโอลิน เป็นต้น จิตรกรและประติมากรที่สำคัญได้แก่ อุมแบร์โต   บ็อคโอนี (Umberto  Boccioni) เป็นศิลปินชาวอิตาลีที่มีความสามารถทั้งในด้านจิตรกรรมและประติมากรรม ผลงานที่สำคัญ คือ รูปทรงที่เป็นเอกภาพของอวกาศ (Uniqe Forms of Continuity Space)
                    ๑๐. ลัทธิดาดา (Dadaism)          เป็นลัทธิที่เกิดขึ้นมาเพราะความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งในเรื่องเชื้อชาติและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดสงคราม จึงเกิดการต่อต้านโดยแสดงออกในรูปแบบของศิลปะที่ต่อต้านทุกอย่าง ผลงานจึงมีลักษณะแปลกมากกว่าความงาม บางผลงานมีลักษณะน่าเกลียด สร้างขึ้นเพื่อเตือนใจมนุษย์ให้นึกถึงผลร้ายของสงครามและภัยของวัตถุนิยม ปรัชญาของลัทธิอยู่ที่การยอมรับในสิ่งที่ตนเองเห็น แล้วแสดงออกมาในรูปของการเสียดสี จึงเป็นการมองในแง่มุมกลับของค่านิยมต่างๆ ซึ่งเคยยึดถือกันมา ศิลปินในลัทธินี้ ได้แก่ -  ฮันส์  อาร์ป (Hans  Arp) -  มาร์แชล  ดูชองป์ (Marcel  Duchamp)ภาพL.H.O.O.Q    ภาพ Nude Descending a  Staircase  -  แม็กซ์  แอนส์ (Max  Ernst) -  พอลลา  โมเดอร์สัน  เบคเกอร์ (Paula  Modersohn Becker)                             L.H.O.O.Q  โดย มาร์แชล  ดูชองป์ (Marcel  Duchamp)พ.ศ.๑๙๖๒
                     ๑๑. ลัทธิเหนือจริง (Surrealism) เป็นศิลปะที่แสดงออกอย่างเสรีของจิตไร้สำนึก มีลักษณะของความฝันและความคิดที่ไม่ถูกชักนำ แสดงออกซึ่งความกลัว ความผิดหวัง ความรัก และแสดงออกซึ่งความสัมพันธ์ของอดีตและปัจจุบัน ตลอดจนแสดงออกถึงคว่ามเป็นอนิจจังของสรรพสิ่ง ศิลปะลัทธินี้ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของซิกมันด์   ฟรอยด์(Sigmund  Freud) นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย และคาร์ล   จุง (Carl  Jung) นักจิตวิทยาชาวสวิสเซอร์แลนด์ เซอร์เรียลลิสม์ คือ วิญญาณนิยม ที่ถือว่าชีวิตมีอยู่ได้เพราะวิญญาณ ศิลปินในลัทธินี้จึงเปรียบเสมือนบุคคลที่สามารถสร้างสรรค์สิ่งซึ่งไร้วิญญาณให้ฟื้นกลับมามีชีวิต เช่น -  ภาพลางร้ายของสงครามกลางเมือง (Premonition of Civil War)     ของ ซัลวาดอร์   ดาลี (Salvador  Dali)-  ภาพวันเกิด (Birth Day) ของ มาร์ค   ชากาล (Marc  Chagall)-  ภาพสวนกุหลาบ(Rose garden) ของ พอล   คลี (Paul  Klee) -  ประติมากรคนสำคัญ คือ อัลเบอร์โต  จีอาโกเมตติ    (Alberto   Giacometti) เป็นต้น  ภาพลางร้ายของสงครามกลางเมือง 
     
                     ๑๒. ศิลปะประชานิยม (Pop Art)     เป็นศิลปะที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของคนสมัยใหม่ ไม่เกี่ยวกับศาสนาและพยายามหาทางสร้างศิลปะที่ไม่จำเป็นต้องอยู่บนผืนผ้าใบหรือแผ่นไม้ แต่นำเอาวัสดุต่างๆ มาติดเข้ากับผืนภาพ งานศิลปะแบบนี้จึงเป็นที่นิยมอยู่ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ศิลปินคนสำคัญ ได้แก่- โรเบิร์ต เราเชนเบิร์ก(Robert  Rauschenberg) ภาพMonogram- รอย ลิชเชนสไตน์(Roy Lichtenstien)ภาพDrowning Girlพ.ศ.๒๕๐๐- แอนดี้ วอร์ฮอล์(Andy Warhol)พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๕๓๐                              ภาพ Monogram                           ภาพ Drowning Girl
                     ๑๓. อ๊อปอาร์ต (Op. Art) คำว่า Op. Art มาจากคำว่า Optical Art เป็นศิลปะที่เกี่ยวกับตาและการรับรู้ทางตา ผลงานศิลปะในลัทธินี้จึงเน้นสีเข้มและสด โดยเฉพาะสีขาวและสีดำ งานลักษณะนี้ไม่เน้นเนื้อหาและเรื่องราว แต่วาดเส้นง่ายๆ ที่ก่อ ให้เกิดผลกระทบทางสายตา ยิ่งสะดุดตามากเท่าใดก็แสดงว่าประสบผลสำเร็จมากเท่านั้น ศิลปะแบบนี้จึงนิยมใช้ในงานโฆษณา การจัดเวที การจัดร้าน ศิลปินในงานอ๊อปอาร์ต ได้แก่ บริดเก็ต  ไรเลย์ (Bridget  Riley) เป็นต้น                   Movement in Squares โดย Bridget Riley

ไม่มีความคิดเห็น: